ISO/TS 16949

ISO/TS 16949 ระบบการบริหารจัดการคุณภาพ สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์

ใครที่คลุกคลีกับฝรั่ง 2 ทวีปคือ อเมริกา และยุโรปจะมีความรู้สึกอย่างหนึ่งว่าคนในสองทวีปนี้บางทีจะไม่ค่อยยอมรับกันเท่าไร เช่นอะไรที่ยุโรปทำ
อเมริกามักออกมาพูดจาเสียดสีบ่อยครั้งทำนองว่าไม่ค่อยได้เรื่องอะไรทำนองนั้น ส่วนยุโรปก็บอกว่าอเมริกานั้น over เกินไป อย่างมาตรฐาน ISO 9000 แม้
จะแพร่หลายในยุโรป และเอเชีย แต่ในอเมริกาจะไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าที่ควร เพราะถ้าพูดถึงระบบงานอเมริกาจะไปทาง TQM, Balanced Scorecard และ Six
Sigma เสียมากกว่า ถ้าจะมีบางเรื่องที่อาจพึ่งพาอาศัยกันบ้างก็มีไม่มากนัก

พูดถึงมาตรฐานในอุตสาหกรรมยานยนต์มีบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมนี้คือเยนเนอรัลมอเตอร์ ฟอร์ด และ เดมเลอร์ ไครสเรอร์ ที่คนอเมริกัน
เรียกกันติดปากว่า Big Three หรือ สามยักษ์ใหญ่ก็มาจับมือกันว่าจะมากำหนดมาตรฐานกลางๆอะไรดี เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีมาตรฐานของตัวเองทำให้
Suppliers ทั้งหลายเกิดความปวดหัวเพราะมันเข้ากันไม่ได้ ตอนนั้นมาตรฐาน ISO 9000 ก็ออกมาแล้วแต่ทั้ง 3 ยักษ์บอกยังไม่น่าจะ work เพราะมันเป็น
กลางๆเกินไปและไม่มีอะไรที่มันเฉพาะที่เป็นของยานยนต์เอาเลย ก็เลยกำหนดมาตรฐาน QS 9000 ออกมาเป็นข้อกำหนดเฉพาะใช้ควบกันไปกับ ISO
9000 ในปี 1994

แต่ต่อมาในปี 2002 ก็ได้ออกมาตรฐานเฉพาะตัวของอุตสาหกรรมนี้ออกมาภายใต้ชื่อว่า ISO 16949 – ระบบการบริหารจัดการคุณภาพข้อกำหนด
เฉพาะสำหรับการนำมาตรฐาน ISO 9000:2000 ไปใช้กับองค์กรที่ผลิตรถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์ ( Quality Management System Particular
requirements for the application of ISO 9000:2000 for automotive production and relevant service part organizations )

สิ่งที่องค์กรที่เป็นผู้ส่งมอบ หรือ suppliers ของอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วๆไปจะต้องทำตามมาตรฐานนี้มีคร่าวๆดังนี้

– จัดทำคู่มือคุณภาพ
– ควบคุมเอกสาร
– ควบคุมบันทึก
– ฝ่ายบริหารต้องแสดงความมุ่งมั่น
– ให้ความสำคัญกับลูกค้า
– กำหนดนโยบายคุณภาพ
– กำหนดวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ
– วางแผนระบบการบริหารคุณภาพ
– กำหนดความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร
– แต่งตั้งผู้แทนฝ่ายบริหาร
– ทำการติดต่อสื่อสารภายใน
– ประชุมทบทวนของฝ่ายบริหาร
– จัดให้มีทรัพยากร
– สร้างสมรรถนะ จิตสำนึก และฝึกอบรมบุคลากร
– สร้างทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์
– จูงใจพนักงานและการมอบอำนาจ
– จัดให้มีสาธารณูปโภคพื้นฐาน (อาจใช้ว่า โครงสร้างพื้นฐาน ก็ได้)
– จัดให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานทีดี
– วางแผนการผลิต
– กำหนด และบริหารกระบวนการที่สัมพันธ์กับลูกค้า
– วางแผนการออกแบบ และการพัฒนา
– จัดทำข้อมูลป้อนเข้าของการออกแบบและการพัฒนา
– จัดทำผลที่ได้จากการออกแบบและการพัฒนา
– ทบทวนการออกแบบและการพัฒนา
– ทวนสอบการออกแบบและการพัฒนา
– ยืนยันความต้องถูกต้องของการออกแบบและการพัฒนา
– ควบคุมการเปลี่ยนแปลงการออกแบบและการพัฒนา
– บริหารกระบวนการจัดซื้อ
– ควบคุมการผลิตและการบริการ
– การยืนยันความถูกต้องของกระบวนการผลิตและการบริการ
– จัดให้มีการชี้บ่งและสอบกลับได้
– บริหารทรัพย์สินของลูกค้า
– คงรักษาสภาพของผลิตภัณฑ์
– ควบคุมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเฝ้าระวังและตรวจวัด
– ชี้บ่งเครื่องมือทางสถิติ
– เฝ้าติดตามและวัดความพึงพอใจของลูกค้า
– ตรวจติดตามภายใน
– เฝ้าติดตามและตรวจวัดกระบวนการ
– เฝ้าติดตามและตรวจวัดผลิตภัณฑ์
– ควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด iso 16949_2
– วิเคราะห์ข้อมูล
– ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
– ปฏิบัติการแก้ไข
– ปฏิบัติการป้องกัน

เมื่อคุณศึกษามาตรฐานนี้จะเห็นได้ว่ามีรายละเอียดทางสถิติ และวิศวกกรมอยู่มากมาย จัดเป็นมาตรฐานที่ค่อนข้างยากเล่มหนึ่ง

มาตรฐานนี้มีเครื่องมือสำคัญที่คุณจำเป็นต้องรู้และเอาไปใช้ได้ เขาเรียกว่า Core Tools ที่ประกอบด้วย
APQP – Advanced Product Quality Planning
FMEA – Failure Mode and Effects Analysis
MSA – Measurement System Analysis
PPAP – Production Part Approval Process
SPC – Statistical Process Control
แต่ละเรื่องก้ไม่เบาครับ ผมจะไปเขียนเอาอีก page หนึ่งต่างหาก